skip to Main Content

10 เรื่องผู้กู้ร่วมต้องรู้ก่อนซื้อบ้านทาวน์โฮม

10 เรื่องผู้กู้ร่วมต้องรู้ก่อนซื้อบ้านทาวน์โฮม

1. 10 เรื่องผู้กู้ร่วมต้องรู้ก่อนซื้อบ้านทาวน์โฮม

การมีบ้านทาวน์โฮมหรือคอนโดสักหลังเป็นของตัวเอง ถือเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คนเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงในอนาคต เราอยากซื้อบ้านแต่เงินเดือนน้อยควรทำอย่างไรการกู้ร่วมถือเป็นทางออกที่ดีและตอบโจทย์เป็นอย่างมากสำหรับการเป็นเจ้าของบ้านทาวน์โฮมหรือคอนโด ที่อาจจะทำให้เราสามารถยื่นขอกู้บ้านผ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ซื้อบ้านร่วมกับเพื่อน, ซื้อบ้านร่วมกับแฟน, ซื้อบ้านร่วมกับสามีหรือภรรยา

แต่การกู้ร่วมซื้อบ้านหรือบ้านทาวน์โฮมร่วมไปถึงคอนโดนั้น จะมีรายละเอียดการกู้ และข้อกำหนดอะไรบ้าง? ที่เราควรรู้ก่อนทำการเซ็นสัญญาเป็น “ผู้กู้ร่วม” วันนี้เรามีคำตอบมาบอกเพื่อน ๆ ให้หายสงสัยกัน เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

 

1.1 การกู้ร่วมสามารถช่วยให้คุณกู้ง่ายขึ้นและได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น

นี่คือประโยชน์ของการกู้ร่วมครับ คือถ้าหากว่ารายได้ของผู้ที่กู้เองนั้นไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระในยอดที่เรากู้ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอยู่ เช่นผ่อนรถ ผ่อนมือถือ และถ้าหากต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโด อาจจะต้องหาผู้ที่มากู้ร่วมเพราะจะทำให้ตัวเลขรายได้สูงขึ้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการให้สินเชื่อ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้กู้ร่วมด้วยเช่นกันว่ามีกำลังผ่อนชำระเพียงพอตามที่ธนาคารกำหนดไว้หรือไม่

 

1.2 ผู้ที่จะกู้ร่วมจะต้องมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติหรือมีสายเลือดเดียวกัน

ปกติแล้วผู้ที่จะสามารถกู้ร่วมได้จะต้องมีสายเลือดเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์ ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจจะเป็นสามี-ภรรยา พี่น้อง พ่อแม่ลูก หรือญาติที่มีนามสกุลเดียวกัน
  • เป็นพี่น้องกันพ่อเดียวหรือแม่เดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีบิดาหรือมารดาคนเดียวกัน
  • เป็นแฟนกันโดยที่ไม่ได้แต่งงาน เป็นลูกพี่ลูกน้องไม่สามารถกู้ร่วมกันได้

**ในปัจจุบันการการกู้ร่วมนั้นเปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมได้แล้ว สำหรับคนที่เป็น LGBTQ+ ที่

อยากซื้อบ้าน แต่เงินเดือนน้อย ถือว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งสำหรับ LGBTQ+ เลยก็ว่าได้ครับ

 

1.3 สามี – ภรรยา ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนก็สามารถกู้ร่วมกันได้

แต่จริง ๆ แล้วการกู้ร่วมเค้าไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนสมรสถึงจะกู้ร่วมได้ แต่คู่ที่จดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็ไม่มีปัญหาแต่ถ้าคู่ไหนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถ้าจะกู้ร่วมกันต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามีภรรยากันเช่น ภาพแต่งงาน มีบุตรร่วมกันหรือหนังสือรับรองบุตร เป็นต้น

 

1.4 กู้ร่วมต่างจากการค้ำประกันยังไง?

การกู้ร่วม

  • ผู้ที่กู้ร่วมเป็นลูกหนี้ร่วมชั้นต้นเหมือนกัน
  • ธนาคารจะคิดรายได้ของผู้ร่วมมาประเมิน
  • ธนาคารจะเรียกให้คนใดคนหนึ่งสามารถชำระก่อนได้

การค้ำประกัน

  • ผู้กู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นรอง
  • ธนาคารจะไม่นำรายได้ของผู้ค้ำมาประเมินด้วย
  • ธนาคารจะเรียกให้ผู้กู้ชำระก่อน หากผู้กู้ไม่สามารถชำระได้ธนาคารถึงจะเรียกกับผู้ค้ำ

 

1.5 ใครต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมบ้าง?

ผู้ที่กู้ร่วมกันต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร่วมกันและจำนวนเท่า ๆ กันเพราะถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะมีดังนี้

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน

  • ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน
  • ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายให้กับธนาคาร

  • ค่าธรมเนียมในการประเมินหลักทรัพย์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 6,000 บาท
  • ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 0.35% ของมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทประกันภัยรับประกัน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ธนาคารจะเรียกเก็บจากผู้กู้ เพื่อนำไปชำระให้กับกรมสรรพากร

 

1.6 ความรับผิดของคนกู้ร่วมต่อธนาคารคืออะไร? 

การที่จะกู้ร่วมผู้ที่กู้ร่วมต้องรู้ว่าตัวเองจะเป็นหนี้คนละครึ่งกับผู้กู้ หมายถึงในทางกกฎหมายลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชอบหนี้เป็นส่วนเท่า ๆ กัน เช่น กู้มา 1 ล้านบาทเท่ากับเป็นหนี้คนละ 5 แสนบาทนั่นเอง ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้ที่กู้จะต้องชำระหนี้ให้ตรงเวลาตามที่ธนาคารกำหนดเพราะถ้าผู้กู้ขาดการชำระ ผู้ที่กู้ร่วมจะต้องมาชำระแทน เช่น กู้มา 1 ล้านบาท ผู้กู้คนแรกไม่จ่าย ธนาคารจะเรียกจากผู้กู้ร่วมคนใดคนหนึ่งก็ได้ คนละ 1 ล้านบาท หรือ รวมกัน 1 ล้านบาท หากคนใดคนหนึ่งจ่ายให้ธนาคารไปแล้ว 1 ล้านบาท ก็ไปเรียกคืน 5 แสนบาท จากอีกคนในภายหลัง นี่คือเหตุผลว่าทำไมการกู้ร่วมจึงควรเป็นญาติพี่น้องหรือสามีภรรยากันเพราะต้องช่วยกันผ่อนชำระจนกว่าภาระหนี้จะสิ้นสุด

 

1.7 ความรับผิดชอบระหว่างผู้กู้ร่วมด้วยกันเองคืออะไร

ความรับผิดชอบของผู้กู้ร่วมแต่ละคนจะเป็นจำนวนเท่ากันกับผู้ที่กู้ เช่น กู้ธนาคารร่วมกัน 2 คนเป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ระหว่างผู้กู้ร่วม จะต้องรับผิดชอบกันคนละ 1 ล้านบาท ถ้าคนใดคนหนึ่งจ่ายจำนวนเต็ม 2 ล้านบาท ก็สามารถไปเรียกจากอีกคนได้ในจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือจำนวน 1 ล้านบาทนั่นเอง

 

1.8 กรรมสิทธิ์หลังผ่อนชำระหมดเป็นของใคร ขึ้นอยู่กับว่าจดทะเบียนเป็นชื่อใคร?

ถ้าหากว่าเรายื่นกู้คนเดียวเมื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้านหมด กรรมสิทธิ์ก็จะเป็นของเราคนเดียว แต่ถ้าหากเป็นการกู้ร่วมจะแบ่งเป็น 2 แบบ

  • ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลาที่กู้นั้นมีผู้กู้ร่วม
  • ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยส่วนมากนั้นจะเป็นแบบข้อที่ 2 ก็คือผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ นั้นร่วมกัน แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งต้องการที่จะขายบ้านหรือคอนโดนั้น ๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ “ทุกคน” ยินยอมทั้งสองฝ่าย

 

1.9 การถอนชื่อผู้กู้สามารถทำได้ แต่ทุกฝ่ายจะต้องยินยอม

การถอนชื่อผู้ที่กู้ร่วมสามารถทำได้แต่ขั้นตอนแรกธนาคารจะพิจารณาว่าผู้กู้นั้นมีความสารถผ่อนชำระได้ หรือไม่ถ้าหากผู้กู้นั้นผ่อนมาหลายปีแล้วใกล้จะหมดแล้วขอถอนจากการเป็นผู้กู้ร่วมก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ก่อนจะถอนชื่อนั้นก็ต้องตกลงกันก่อนว่าจะให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ที่ผ่อนชำระเพียงคนเดียวหรือไม่ แต่ถ้าหากเพิ่งเริ่มต้นผ่อนกันไปไม่กี่ปี ยังเหลือวงเงินที่ต้องผ่อนชำระอีกเยอะและผู้กู้หลักมีรายได้ที่ไม่เพียงพอ ก็จำเป็นจะต้องหาผู้กู้ร่วมคนอื่นมาแทน ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาจากธนาคารว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ ถ้าหากไม่ผ่านธนาคารมีสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้

 

1.10 ผู้กู้ร่วมเสียชีวิตต้องทำยังไง? 

หากผู้กู้ร่วมเราเสียชีวิตอย่างแรกที่เราควรทำ คือ การแจ้งธนาคารให้รับทราบ เพราะไม่อย่างนั้น สัญญากู้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เท่ากับเราจะต้องชำระหนี้ต่อไป หลังจากนั้นจะมีแนวทาง 3 ทาง ดังนี้

  • เมื่อเราแจ้งเรื่องเรียบร้อยแล้ว ธนาคารก็จะเรียกให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิตเข้ามาลงชื่อเพื่อแสดงเจตนารับสภาพหนี้ภายใน 1 ปี หลังจากนี้ ก็เป็นหน้าที่ของทายาทที่จะรับช่วงผ่อนชำระต่อไป อย่างไรก็ตาม ทายาทนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และจะต้องผ่านการประเมินจากทางธนาคารว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ได้ ในฐานะผู้กู้ร่วมในส่วนของกรรมสิทธิ์เมื่อทายาทเข้ามารับสภาพหนี้หรือมาผ่อนต่อแล้วกรรมสิทธิ์นั้นก็จะตกทอดไปสู่ทายาท
  • ถ้าหากทายาทของผู้เสียชีวิตยังไม่บรรลุนิติภาวะผู้กู้ร่วมสามารถหาผู้กู้ร่วมรายใหม่มาช่วยผ่อนสินเชื่อ บ้านต่อได้แต่ว่าจะต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันเมื่อแจ้งความประสงค์กับธนาคารแล้วก็จะมีการประเมินความสามารถในการผ่อนชำระต่อไป
  • สุดท้ายถ้าผู้กู้ร่วมอีกฝ่ายมีความสามารถและยินยอมที่จะผ่อนชำระสินเชื่อในส่วนของตนเองและส่วนของผู้กู้ร่วมที่เสียชีวิตด้วยก็สามารถทำได้ แต่กรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นของทายาทของผู้เสียชีวิตอยู่สำหรับใครที่มีกำลังวางแผนการซื้อบ้าน ทาวน์โฮมหรือคอนโดและมีแนวทางที่จะทำการกู้ร่วมอาจจะต้องศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ดีก่อนทำการเซ็นสัญญากู้ร่วมเพื่อไม่ให้เสียประโยชน์กับตัวเราต่อไปในอนาคตนั่นเองครับ

 

ถึงแม้การกู้ร่วมจะสามารถเพิ่มโอกาสในการในการกู้ได้ และสามารถได้จำนวนเงินมากขึ้นถึงแม้เราจะมีเงินเดือน 15,000 หรือ 20,000 บาท ก็ตาม แต่การที่เราจะตัดสินใจกู้ร่วมก็ต้องวางแผนให้ดี ๆ ก่อนเพราะว่ามันคือการเป็นหนี้ร่วมกัน ที่สำคัญก่อนกู้ร่วมต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียด ข้อกำหนดต่างๆ ก่อนเซ็นสัญญากู้ร่วม เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์กับตัวเองในอนาคตนั่นเองครับ ทางโครงการทาวน์โฮมมิรารี่  ของเรามีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งยังดูแลครบ จบ ทุกกระบวนการ เพื่อให้การกู้ซื้อบ้านของคุณ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายและหมดปัญหากังวลใจไปได้เลย โดยเจ้าหน้าที่จะดูแลและให้คำปรึกษาสามารถตอบคำถามได้ตลอด

ติดต่อปรึกษาเรื่องกู้กับเราได้ที่ line@ Mirari Home หรือ โทร 064-7493515 , 092-4796963

สามารถเข้ามาดูตัวอย่างทาวน์โฮม ที่ตั้งโครงการ โครงการบ้านมิรารี่ โฮม เพชรเกษม – กระทุ่มแบน

 

Back To Top

ลงทะเบียนรับส่วนลด